วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อเส้นผม

บทบาททางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าวต่อเส้นผม 

khjuk
   hair       


1. ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี: น้ำมันมะพร้าวช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม เพราะน้ำมันมะพร้าวมีความคล้ายคลึง (affinity) กับโปรตีนของเส้นผม จึงยึดเกาะเส้นผมได้ดี อีกทั้งยังมีขนาดเล็กจึงแทรกซึมเข้าไปในเส้นผมได้สะดวก ในขณะที่น้ำมันทานตะวันและน้ำมันแร่ (Mineral Oil) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมน้ำมันใส่ผม ไม่ได้มีส่วนช่วยแต่อย่างใด เพราะไม่สามารถซึมเข้าไปในเส้นผมได้เหมือนน้ำมันมะพร้าว

2. ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ: น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีสารต่อไปนี้
        - สารปฏิชีวนะ: กรดไขมันขนาดกลางในน้ำมันมะพร้าว โดยเฉพาะกรดลอริกมีฤทธิ์เป็นสารปฏิชีวนะที่สามารถฆ่าเชื้อยีสต์ที่ทำให้เกิดรังแค
        - สารต่อต้านการเติมออกซิเจน: น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตีออกซิแดนต์ในปริมาณสูง ได้แก่ วิตามินอี สารไฟโตสเตอรอล และสารฟีนอล โดยเฉพาะวิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวมรประสิทธิภาพสูงกว่าที่มีอยู่ในเครื่อง สำอางถึง 40 – 60 เท่า สารแอนตีออกซิแดนต์เหล่านี้ทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจนที่ทำให้เกิด อนุมูลอิสระที่ทำอันตรายต่อหนังศีรษะ ดังนั้น หนังศีรษะจึงไม่เหี่ยวย่น แต่มีสุขภาพดี เป็นผลทำให้เส้นผมเจริญเติบโตได้ดี

น้ำมันมะพร้าวทำอะไรกับเส้นผม         น้ำมันมะพร้าวทำให้เส้นผมสวย ด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ :
        - เส้นผมมีน้ำหนัก และดกดำเป็นเงางาม: จากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม น้ำมันมะพร้าวจึงทำหน้าที่เป็นสารปรับสภาพของผม (Hair Conditioner) อย่างดีเยี่ยม ช่วยทำให้เส้นผมมีน้ำหนัก และดกดำเป็นเงางาม
        - เส้นผมไม่แห้ง แดง แตกปลาย: จากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี โดยการช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม ทำให้เส้นผมไม่แห้ง แดง แตกปลาย
        - ผมไม่ร่วงก่อนวัย: จากการที่น้ำมันมะพร้าว ช่วยทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี โดยช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม ยังทำให้เส้นผมไม่ร่วงก่อนวัย แม้กระทั่งผู้ที่ร่วงเพราะพันธุกรรม น้ำมันมะพร้าวก็ช่วยได้ หากใช้เมื่อเริ่มร่วง
        - ผมไม่หงอก: หากผมของท่านเริ่มหงอก เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวหมักผมเส้นผมใหม่ที่งอกออกมา จนกลับดกดำ แม้แต่เพียงจากการใช้ครั้งแรก ท่านก็จะพบว่าเส้นผมนั้นมีน้ำหนักและดกดำยิ่งขึ้น

การใช้น้ำมันมะพร้าวหมักผม         รินน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนชาลงบนฝ่ามือ แล้วชโลมลงบนหนังศีรษะและนวดคลึงเส้นผม จากนั้นคลุมด้วยหมวกที่ใส่อาบน้ำ ใช้เครื่องเป่าผมเป่าให้แห้งโดยใช้ความร้อนสูงสุดเท่าที่จะทนได้ หรือไม่ก็ปล่อยทิ้งไว้ 1 -2 ชั่วโมง แล้วสระผมด้วยแชมพู และตามด้วยคอนดิชั่นเนอร์ (ถ้าเคยใช้) หากได้หมักผมเป็นประจำ เส้นผมจะอ่อนนิ่มอย่างมาก และดกดำเป็นเงางาม
hair2
ดเด่

ที่มา:หนังสือ "สวยได้ด้วยน้ำมันมะพร้าว" โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 21 - 22

การกลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าว

ออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling)

น้ำมันมะพร้าว

www.coconut-virgin.com

ออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) คืออะไร ?     

        ออยล์พูลลิ่ง เป็นวิธีการบำบัดของชาวอินเดีย โดยการอมน้ำมันไว้และเคลื่อนน้ำมันไปให้ทั่วช่องปาก ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที จากนั้นจึงบ้วนทิ้งไป ออยล์พูลลิ่งเป็นที่ฮือฮาเมื่อ Dr. F. Karach, M.D., ได้เสนอรายงานต่อที่ประชุมสัมมนาบัณฑิตย์ทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศรัสเซีย เมื่อปี 2534-2535 การประชุมมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องมะเร็ง และแบคทีเรียซึ่ง Dr.Karach ได้อธิบายถึงการบำบัดรักษาโรคที่ยอดเยี่ยมไม่เหมือนใครด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้การอมน้ำมัน ผลลัพธ์ของการบำบัดด้วยวิธีนี้ ทำให้ผู้คนตะลึง ประหลาดใจ เต็มไปด้วยความสงสัยในรายงานของเขาเป็นอันมาก อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้มีการอธิบาย ซักถามกันถึงการรักษา มีการทดสอบ ทดลองใช้ทดลองทำ พิสูจน์หาความสมเหตุสมผลที่เกิดขึ้นต่างก็ยิ่งประหลาดใจถึงผลที่ได้รับจาก การรักษาอย่างสมบูรณ์อีกทั้งยังไม่มีอันตรายใดๆด้วย เป็นการรักษาทางด้านชีววิทยาโดยแท้ ด้วยวิธีการง่ายๆ ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชนิด

        Dr. Bruce Fife N.D. นักโภชนาการผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเขียนหนังสือไว้หลายเล่มรวมทั้ง Coconut Oil Miracle เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสงสัยในรายงานดังกล่าว จึงได้ทดลองทำออยล์พูลลิ่งด้วยตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้ Dr.Fife ถึงกับออกปากว่า ออยล์พูลลิ่งเป็นการรักษาของแพทย์ทางเลือก ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่สิ่งที่ Dr. Fife สงสัยคือ เหตุใดการอมน้ำมันจึงช่วยรักษาโรคได้ เขาเริ่มศึกษาการทำออยล์พูลลิ่งของ Dr. Karach อย่างจริงจังรวมทั้งศึกษารายงานอีกเป็นร้อยๆชิ้น ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง Dr. Fife เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Oil Pulling Therapy มีใจความบางตอนดังนี้

        ในปากของเราเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว แต่ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย เพราะปากเป็นแหล่งอาศัยที่เหมาะสม มีความร้อน ความชื้น และอุณหภูมิคงที่  ยังมีอาหารอุดมสมบูรณ์จากเศษอาหารที่เรารับประทาน  กล่าวกันว่าปริมาณแบคทีเรียในปากของคนคนหนึ่ง มีมากกว่าจำนวนประชาการของคนทั้งโลก แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่บนผิวฟัน บางชนิดอยู่ในช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก บางชนิดอยู่ที่เพดานปาก และบางชนิดอยู่ที่ใต้ลิ้นและโคนลิ้น การแปรงฟันและการใช้น้ำยาบ้วนปากช่วยลดปริมาณแบคทีเรียเหล่านี้ลงได้แค่ เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่นานก็จะกลับมาแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้นเช่นเดิม

        โรคร้ายทุกชนิดเริ่มต้นที่ปาก อาจฟังดูเหลือเชื่อ แต่หากไม่นับโรคทางพันธุกรรม โรคทางอารมณ์ หรือโรคจากการบาดเจ็บต่างๆ โรคร้ายเกือบทุกชนิด รวมทั้งการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆล้วนเริ่มต้นที่ปาก เนื่องจากปากเป็นประตูเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกต้องหรืออาหารที่มีพิษ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ยิ่งกว่านั้นใน ปากและลำไส้ยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียนับพันล้านตัว บางชนิดเป็นอันตราย บางชนิดไม่ และบางชนิด เป็นประโยชน์ ถ้าแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่กระแสเลือด แม้แต่แบคทีเรียชนิดที่ไม่เป็นอันตราย ก็สามารถทำให้เราถึงแก่ความตายได้ หากในปากของเรามีแผล หรือมีการอักเสบของเหงือกหรือเนื้อเยื่อ จะทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายชนิด ตั้งแต่โรคไขข้ออักเสบไปจนถึงโรคหัวใจ

ออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) ทำงานอย่างไร ?

        ออยล์พูลลิ่งเป็นการบำบัดที่ทำได้ง่ายที่สุดแต่ก็มีประสิทธิภาพมากที่สุดใน บรรดาการรักษาทางธรรมชาติด้วยเช่นกัน สำหรับหลายๆคนมีความรู้สึกว่า แค่การอมและเคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปาก ไม่น่าจะช่วยรักษาโรคได้ อันที่จริงออยล์พูลลิ่งไม่ได้รักษาโรค แต่มันช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหรือเป็นตัวการปล่อยสารพิษให้ หมดไป เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสได้ฟื้นฟู

        ออยล์พูลลิ่งเป็นกระบวนการทางชีววิทยาล้วนๆ แบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่เป็นสัตว์เซลล์เดียว เซลล์เหล่านี้ปกคลุมด้วยน้ำมันหรือเนื้อเยื่อที่เป็นไขมันซึ่งเป็นเรื่อง ธรรมดาของผิวเซลล์ ( เซลล์ของคนเราก็ล้อมรอบด้วยส่วนผสมของไขมันเช่นเดียวกัน) เมื่อคุณเทน้ำมันลงในน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำกับน้ำมันจะแยกกันอยู่ไม่ยอมผสมรวมกัน แต่ถ้าคุณเทน้ำมันสองชนิดเข้าด้วยกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำมันทั้งสองจะผสมรวมและดึงดูดซึ่งกันและกัน นี่คือความลับของออยล์พูลลิ่ง เมื่อคุณใส่น้ำมันลงในปาก เนื้อเยื่อที่เป็นน้ำมันหรือไขมันของแบคทีเรียจะถูกน้ำมันดูดไว้ ขณะคุณเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปาก แบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยแยกของเหงือกและฟันหรือตามซอกของฟันจะถูกดูด ออกจากที่ซ่อนและติดแน่นอยูในส่วนผสมของน้ำมัน ยิ่งนานยิ่งมาก หลังจากผ่านไป 20 นาที ส่วนผสมของน้ำมันจะเต็มไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ คุณจึงควรบ้วนทิ้งไปมากกว่าที่จะกลืนมันเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันซึ่ง เป็นอาหารของแบคทีเรียจะถูกดูดออกด้วยเช่นกัน สิ่งที่ไม่ใช่น้ำมัน ( water based) จะถูกดูดออกด้วยน้ำลาย น้ำลายยังช่วยลดกรดที่เกิดจากแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียรวมทั้งพิษร้ายที่เกิดจากแบคทีเรียถูกดูดออกไป จึงเป็นโอกาสดีที่ร่างกายได้ทำการฟื้นฟู  การอักเสบทั้งหลายหมดไป กระแสเลือดเป็นปกติ เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการซ่อมแซม การมีสุขภาพดี จึงกลับมาในที่สุด

น้ำมันชนิดใดเหมาะจะใช้ทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) ?

        ตามตำราโบราณของอินเดียแนะนำให้ใช้น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันงา เนื่องจากเป็นน้ำมันที่หาได้ทั่ว ไปในอินเดียขณะนั้น  Dr. Fifeกล่าวว่า น้ำมันชนิดใดก็สามารถใช้ทำออยล์พูลลิ่งได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบน้ำมันมะพร้าว เนื่องจากต้องการใช้น้ำมันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำมันมะพร้าวเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา หรือน้ำมันพืชชนิดใดๆ กรดลอริคในน้ำมันมะพร้าวเมื่อถูกกับเอนไซม์ในน้ำลายจะแตกตัว เป็นโมโนกลีเซอไรด์ชื่อว่า โมโนลอริน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค เหตุผลอีกประการหนึ่ง น้ำมัน มะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นที่ได้รับการผลิตอย่างมีคุณภาพจะมีความสะอาด ถูกอนามัย แถมยังมีกลิ่นและรสชาติน่าพอใจอีกด้วย

วิธีการทำออยล์พูลลิ่ง

        ทำขณะที่ท้องว่าง จะดื่มน้ำก่อนหรือไม่ก็ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์บีบเย็นประมาณ 2-3 ช้อนชา อมไว้ในปาก ค่อยๆ ดูด ดัน และดึง ให้น้ำมันไหลผ่านฟันและเหงือกน้ำมันจะเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือมีสีเหลือง เคลื่อนน้ำมันไปทั่วๆปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15-20 นาที จากนั้นให้บ้วนน้ำมันทิ้งไป  บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยการดื่มน้ำ ทำอย่างนี้วันละครั้งเป็นอย่างน้อย

ควรจะทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) เวลาไหนถึงจะดี ?

        แพทย์ทางอายุรเวท แนะนำว่าควรจะทำในช่วงเช้า หลังจากแปรงฟัน และท้องว่างอยู่ Dr Karach แนะนำให้ทำช่วงเช้า ตอนท้องว่าง จะให้ดีควรเป็นหลัง 1 ชั่วโมง หลังจากดื่มน้ำเปล่า ชา กาแฟ หรือน้ำใดๆ ในช่วงเช้า แต่ขอให้ทำก่อนอาหารมื้อเช้า หรือ ตอนท้องว่าง ขณะที่รู้สึกไม่ค่อยสบาย สุขภาพร่างกายมีปัญหา ก็ทำได้

น้ำมันที่ใช้เพียง 10 cc. มันดูน้อยจัง ใช้ 20 cc. จะได้ไหม ?

        เมื่อเราทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) น้ำมันที่อมในปากนั้นจะต้องรู้สึกบางเบา จางลง มีความรู้สึกคล้ายน้ำ ไม่ใช่ยังรู้สึกว่ายังอมน้ำมันอยู่ ควรจะรู้สึกคล้ายน้ำ เมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้จึงจะเป็นผลดี และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายในการทำ โดยทั่วไปความรู้สึกอย่างนี้จะเกิดขึ้นหลังจากอมไว้ 15-20 นาที แต่ถ้าใช้น้ำมันมากเกินไปมาอม ก็จะต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าที่น้ำมันจะกลายเป็นน้ำสีขาวๆ เราก็คงไม่มีเวลาที่จะมาอมน้ำมันอยู่นานๆ กันแน่ ถ้าหากบ้วนทิ้งออกมาแล้วยังรู้สึกว่ายังคงเป็นน้ำมันอยู่ ก็เป็นเรื่องเสียเปล่า ไม่ค่อยได้ประโยชน์นัก จะไม่ค่อยรู้สึกสดชื่น ไม่ได้ผลสำเร็จตามที่ปรารถนา ถ้าจะใช้มากสักนิดหน่อยก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ ไม่เสียหายมากมาย เพียงแต่ใช้เวลานานเสียหน่อย และสำหรับเด็กเราก็ใช้แค่ 5 cc.ก็พอ

โรคที่ได้รับรายงานว่าตอบสนองต่อการทำออยล์พูลลิ่ง

        ผลของการทำออยล์พูลลิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ สุขภาพในช่องปากดีขึ้น ฟันขาวขึ้น แน่นขึ้นไม่โยกคลอน เหงือกเป็นสีชมพูแลดูมีสุขภาพ ลมหายใจสดชื่น นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าออยล์พูลลิ่งจะช่วยเยียวยาความเจ็บไข้หรืออาการป่วยเรื้อรังได้ อีกหลายชนิด ต่อไปเป็นชื่อของโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่มีผู้รายงานเข้ามาว่ามีการตอบสนอง ที่ดีกับออยล์พูลลิ่ง: สิว ภูมิแพ้ รังแค ไซนัส ปวดหัวไมเกรน น้ำมูกมาก หืด หลอดลมอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เรื้อนกวาง ปวดหลัง ปวดคอ ข้ออักเสบ กลิ่นปาก ฟันผุ ฟันเป็นหนอง เลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก ท้องผูก แผลในกระเพาะ ลำไส้ ลำไส้อักเสบ ริดสีดวงทวาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน ส่วนอาการหรือโรคที่การศึกษาทางการแพทย์พบว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพในช่องปาก โดยตรงและอาจมีผลตอบสนองกับการทำออยล์พูลลิ่งได้แก่ ปัสสาวะเป็นกรด ปอดอักเสบ( ARDS) ถุงลมโป่งพอง การอุดตันของเส้นเลือดและเส้นเลือดในสมอง  ผลเลือดผิดปกติ ฝีในสมอง มะเร็ง เกาต์ ถุงน้ำดี หัวใจ น้ำตาลในเลือดสูง แท้งบุตร ไต ตับ ความผิดปกติของระบบประสาท กระดูกพรุน ปอดบวม ทารกคลอด ก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย แพ้สารพิษ และโรคติดเชื้ออื่นๆอีกหลายชนิด

ช่วงเวลาใดที่เหมาะสมจะทำออยล์พูลลิ่ง ?

        ในตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร การแปรงฟันช่วยลดปริมาณแบคทีเรียได้ไม่มากเนื่องจากฟันมีพื้นที่แค่ 10% ของช่องปาก ก่อนอาหารกลางวันปริมาณแบคทีเรียจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตอนก่อนอาหารเช้า และ ลดลงมากที่สุดภายหลังรับประทานอาหารเย็น เมื่อคุณหลับแบคทีเรียมีโอกาสกลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่   โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวน การทำออยล์พูลลิ่งจึงควรทำเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียในช่องปากมีปริมาณมากที่สุด

การทำออยล์พูลลิ่ง (Oil Pulling) ช่วยบำบัดรักษาโรคได้อย่างไร ?

        Dr (med.) Karach ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า “ตามหลักการน้ำมันได้ช่วยรักษาฟันได้ดีอยู่แล้วตามที่ทราบกันดี จะเห็นผลได้ชัดเจนว่าน้ำมันทำให้ฟันมั่นคง แข็งแรง ช่วยรักษาฟันที่โยกคลอน รักษาอาการเลือดออกที่เหงือก และทำให้ฟันขาว” Oil Pulling ในด้านการแพทย์อายุรเวท เรียกว่า “KAVALA GRAHAM” ในหัวข้อของ Charaka Samhita sutra ได้เขียนไว้ว่า “การอมน้ำมันจะช่วยรักษาฟันที่เป็นรู เป็นแมงกินฟัน ช่วยรักษารากฟันให้แข็งแรง รักษาโรคฟัน อาการเสียวฟันที่เวลากินของเปรี้ยว จะช่วยรักษาฟันที่ผุ ทำให้ฟันแข็งแรงสามารถที่จะขบเคี้ยวของแข็งๆ ได้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นที่รู้และต่างก็มีประสบการณ์กันในการรักษาโรคฟันมาแล้วมาก มาย มีหลักฐานเป็นที่เชื่อถือได้ในการใช้วิธี OP บำบัดรักษาโรคฟัน ป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฟัน หรือที่เกี่ยวกับฟัน และเห็นผลอย่างเด่นชัด ซึ่งหมอฟันไม่สามารถทำได้ จากประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เราจะเห็นว่า OP ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ขจัดการติดเชื้อ หยุดความเสียหายความเสื่อมสภาพที่จะเกิดหรือเกิดขึ้นแล้วกับฟัน บรรเทาหรือกำจัดอาการเสียวฟัน ทำให้ฟันมั่นคงและไม่โยกคลอน

        ตามที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถนำมาเชื่อมโยงเหตุผลเข้ามาเป็นเหตุผลว่าทำไม OP ช่วยรักษาอาการปวดให้หายไปได้ ต่อต้าน และกำจัดอาการติดเชื้อ ช่วยเยียวยารักษาสภาพของฟันที่กำลังเสียหายช่วยอาการเสียว ปวดฟัน ช่วยป้องกันและรักษาสุขภาพในช่องปาก ช่วยเหนี่ยวนำระบบประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น ให้ต่อมไร้ท่อ ต่อมคัดหลั่งทำงานได้ดี ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลร่างกาย ในทำนองเดียวกัน OP ก็จะช่วยบำบัดอาการปวดศีรษะ ไมเกรน การจาม อาการเย็น อาการปวดในเวลาไม่กี่วัน และจะทำวันละครั้งหรือหลายครั้งก็ได้ อาการเมาค้าง สามารถบำบัดได้โดยเพียงทำ OP 2- 3 ครั้งในช่วงเช้า สิ่งที่ปฏิบัติเหล่านี้จะเป็นการศึกษา และเป็นประสบการณ์ ถ้าฝึกทำบ่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญในการปฏิบัติ และก็สามารถประเมินผลที่ได้จากประสบการณ์ที่เราได้ทำ ได้เจอด้วยตัวของตัวเอง วิธีการบำบัดโดย OP ก็จะคล้ายๆ กันในแต่ละโรค จะมีแตกต่างกันบ้างก็ในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัดในแต่ละคน

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน

khjuk
 diabetes         

          น้ำมันมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่บริสุทธิ์และปลอดภัย ไม่ปนเปื้อนด้วยสารเคมี โดยเฉพาะยาปราบศัตรูพืช เมื่อผู้ป่วยบริโภคน้ำมันมะพร้าว จะเกิดประโยชน์เป็นเอกอนันต์ต่อผู้ป่วย ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีอาการดีขึ้น ดังต่อไปนี้

- ช่วยทุเลาอาการของโรคเบาหวาน        เนื่องจากระบบประสาทส่วนปลายของอวัยวะเสื่อมไป แขน-ขาของผู้ป่วยจึงไม่มีความรู้สึก หรือเกิดอาการชา หากได้บริโภคน้ำมันมะพร้าว ผู้ป่วยจึงกลับมามีความรู้สึกอีกภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือเพียงไม่กี่วัน เพราะน้ำมันมะพร้าวสามารถเข้าไปในเซลล์ได้โดยไม่ต้องมีอินซูลินพาเข้า และไปใช้เป็นอาหารให้แก่เซลล์ได้ ทำให้เซลล์กลับมาทำหน้าที่ต่อไปได้เหมือนเดิม

- ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องฉีดอินซูลิน ทุกครั้งที่น้ำตาลในเลือดมีระดับสูง        หลังจากการกินอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยจะสูงขึ้นอย่างมากซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยจึงต้องตรวจปริมาณน้ำตาล และหากพบว่าสูงเกินไปก็ต้องฉีดอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาล แต่ถ้าผู้ป่วยบริโภคน้ำมันมะพร้าวก็ไม่ต้องฉีดอินซูลิน เพราะน้ำมันมะพร้าวไปกระตุ้นทำให้เกิดกระบวนการเมตาบอลิสซึมสูงขึ้น ทำให้ไปเพิ่มการสร้าวอินซูลิน และการตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ทำให้ไม่มีน้ำตาลเหลืออยู่ในกระแสเลือดมากนัก

- ช่วยรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากการเป็นเบาหวานมานาน         เนื่องจากระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะเป็นแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรักษาแผลเรื้อรังได้ 2 วิธีคือ

1. บริโภคเข้าไปเพื่อให้น้ำมันมะพร้าวเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นอาหาร ทำให้เซลล์กลับมามีชีวิตชีวาขึ้น จึงช่วยรักษาระบบประสาทและภูมิคุ้มกัน
2. ทาแผลเรื้องรัง เพื่อให้กรดลอริคฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของแผลเรื้อรัง

- ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมีกำลังวังชาขึ้น         เนื่องจากน้ำตาลไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ได้ ทำให้เมตาบอลิสซึมช้าลงจึงไม่เกิดพลังงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง การออกกำลังกายมีส่วนทำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ ทั้งนี้เพราะการออกกำลังกายมีผลต่อการเพิ่มเมตาบอลิสซึม ซึ่งส่งผลให้เพิ่มปริมาณการผลิตอินซูลิน และการดูดน้ำตาลเข้าไปในเซลล์

- ช่วยลดน้ำหนักของผู้ป่วย        โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เป็นของคู่กัน กล่าวคือ 70% ของคนอ้วนเป็นโรคเบาหวาน และ 70% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นคนอ้วน การที่น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มเมตาบอลิสซึม จึงช่วยเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้น ส่งผลให้ลดน้ำหนักตัวลงได้

- ช่วยรักษาโรคเบาหวานให้หายขาด        จากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มการสร้างอินซูลินในตับอ่อน และการตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน ดังนั้น มันจึงช่วยรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้อย่างปาฎิหารย์ เพราะสามารถช่วยรักษาโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ได้ และไม่กลับมาเป็นอีก
       ข้อห้ามอันหนึ่งของผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือห้ามบริโภคไขมัน แต่น้ำมันมะพร้าวแตกต่างจากไขมันอื่นๆ เพราะมันสามารถใช้เป็นอาหารแทนน้ำตาลให้แก่เซลล์ อีกทั้งยังช่วยปรับระดับของน้ำตาลในเลือด และช่วยลดน้ำหนักได้


ดเด่

ที่มา: หนังสือ "น้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคเบาหวานได้อย่างไร" โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 18 - 21

น้ำมันมะพร้าวกับโรคเบาหวาน

น้ำมันมะพร้าวกับโรคเบาหวาน

khjuk
เบาหวาน        


น้ำมันมะพร้าวช่วยแก้ปัญหาโรคเบาหวานได้อย่างไร ?
     เซลล์ ทุกเซลล์ในร่างกายของเรา ต้องการน้ำตาลตลอดเวลา เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการเมตาบอลิสซึม เพื่อสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต และซ่อมแซมส่วนสึกหรอ หากไม่ได้น้ำตาลอย่างเพียงพอเซลล์จะตาย และส่งผลให้เกิดโรคต่างๆได้ น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันชนิดเดียวในโลกที่สามารถแก้ปัญหาของโรคเบาหวานได้ โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้ 


เป็นอาหารให้แก่เซลล์
      อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ แม้ว่ากระแสเลือดจะมีน้ำตาลมาก แต่หากขาดอินซูลิน เซลล์ก็ไม่ได้น้ำตาล
        น้ำตาลกลูโคส (Glucose) (ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ร่างกายใช้หล่อเลี้ยงเซลล์) และกรดไขมันขนาดยาว (Long-chain fatty acids – LCFAs, C18 – 24) มีปัญหาเหมือนกันอยู่อันหนึ่ง นั่นคือไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ได้ด้วยตนเอง เพราะมีโมเลกุลขนาดใหญ่ จำต้องมีอินซูลินเป็นตัวพาเข้า แต่น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันขนาดกลาง (Medium-chain fatty acids – MCFAs, C 6-12) ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก จึงเข้าไปในเซลล์ได้โดยไม่ต้องมีอินซูลินเป็นตัวพาเข้า อีกทั้งน้ำมันมะพร้าวยังสามารถใช้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ ส่งผลให้เซลล์มีอาหารโดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ดังนั้นไม่ว่าร่างกายจะสร้างอินซูลินได้ไม่พอหรือเซลล์ไม่ตอบสนองต่อ อินซูลินก็ไม่เป็นปัญหา
        เมื่อเข้าไปในเซลล์ได้แล้ว MCFAs จะรวมตัวกับคารนิทีน (carnitine) ในเซลล์เพื่อนำกรดไขมันผ่านเยื่อบุสองชั้นของไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเตาเผาเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดพลังงาน ดังนั้นเซลล์จึงมีอาหารอย่างเพียงพอเพียง ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆมีสุขภาพดี และเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ช่วยให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงเสื่อม สรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยให้ระบบไหลเวียนและสุขภาพของหัวใจของผู้ป่วยเบา หวานดีขึ้น
        ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่มีอยู่แต่เดิม น้ำมันมะพร้าวไม่ใช่ตัวการไปทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบตัน แท้ที่จริงแล้วมันช่วยเปิดหลอดเลือดให้กว้างขึ้นด้วยเสียซ้ำ นอกจากนั้นการที่เซลล์ไม่ได้รับอาหาร ทำให้ระบบประสาทถูกทำลาย (neuropathy) ไม่มีความรู้สึก จนแขนขาชา แต่เซลล์สามารถใช่น้ำมันมะพร้าวเป็นอาหารได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการแขนขาชา จะหลับมามีความรู้สึกอีกครั้งได้หลังจากบริโภคน้ำมันมะพร้าวเพียงไม่กี่ สัปดาห์ ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นยาวิเศษชนิดเดียวที่แก้โรคระบบประสาทถูกทำลาย ได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
        ผลอันหนึ่งของการเป็นโรคเบาหวานคือการขาดพลังงาน ทั้งนี้เพราะเซลล์ไม่ได้รับน้ำตาลอย่างพอเพียง เมื่อปราศจากน้ำตาลที่จะให้พลังงานแก่กิจกรรมของเซลล์ เมตาบอลิสซึมก็ช้าลง เป็นผลให้ร่างกายเหนื่อยอ่อน เซื่องซึม แต่น้ำมันมะพร้าวช่วยให้เซลล์ได้รับพลังงานอย่างพอเพียง จึงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานกลับมามีพลังขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรใช้ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการคีโตซีส (ketosis) 


เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างและตอบสนองต่ออินซูลิน
       นอกจากจะทำให้เซลล์ได้รับอาหารอย่างเพียงพอแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของตับอ่อนในการสร้างอินซูลิน ทำให้ร่ากายมีอินซูลินอย่างเพียงพอสำหรับเบาหวานชนิดที่ 1 และเซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ทำให้ไม่ต้องใช้อินซูลินมากกว่าปกติ (สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2) ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวทำหน้าที่ต่อไปนี้

- ช่วยกระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิสซึม         ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะถูกแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยควบคุมปริมาณของน้ำตาลในเลือด ทั้งนี้เพราะการออกกำลังกายไปช่วยเพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึมที่ส่งผลให้เพิ่ม การผลิตอินซูลินและการดูดน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ เป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถกระตุ้นการทำงานของต่อมธัยรอยด์ จึงช่วยเพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึม ส่งผลให้มีการเพิ่มการผลิตอินซูลิน และการดูดซึมน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ ด้วยเหตุนี้น้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องพึ่งสารอินซูลินในการ รักษาโรคเบาหวาน น้ำมันมะพร้าวจึงช่วยผู้ป่วยโรคเบาหวานไปได้อีกทางหนึ่ง

- ช่วยให้ตับอ่อน กลับมาสร้างอินซูลินได้อีกครั้ง         เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวสามารถทดแทนอาหารของเซลล์ได้โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ทำให้ความต้องการเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตอินซูลินในตับอ่อนลดลง จึงช่วยลดความเครียดให้แก่ตับอ่อนในขณะรับประทานอาหาร ซึ่งมีการผลิตอินซูลินอย่างเต็มที่ ทำให้ตับอ่อนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และกลับมาสร้างอินซูลินได้ดังเดิม
        กรดลอริก (lauric acid, C – 12, 48-53%) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าว มีฤทธิ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของตับอ่อนในการสร้างอินซูลิน นอกจากนั้นกรดไขมันขนาดกลางชนิดอื่นๆ ได้แก่กรดคาโปรอิก (capric acid, C – 10.7%) กรดคาปริลิก (caprylicacid, C – 8.8%) และกรดคาโปรอิก (caproic acid, C – 6.05%) ในน้ำมันมะพร้าวต่างก็ช่วยกันเร่งกระบวนการเมตาบอลิสซึม ส่งผลให้เพิ่มการสร้างอินซูลิน และการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ (Fife 2005)

- เพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน         ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน น้ำมันมะพร้าวจะช่วยอาการนี้ได้ โดยการทำให้เซลล์เปิด”ประตู” ให้รับน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ได้มากขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นที่ตับอ่อนจะต้องสร้างอินซูลินมากเกินความจำเป็น
       สรุปก็คือ น้ำมันมะพร้าวช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวาน กลับมาสร้างอินซูลิน และปรับเปลี่ยนให้เซลล์ตอบสนองอินซูลิน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงแก้โรคเบาหวานทั้งสองชนิดได้ ผู้ป่วยที่มือเท้าสูญเสียความรู้สึก กลับมามีความรู้สึกได้เมื่อเติมน้ำมันมะพร้าวในอาหารเพียงไม่กี่สัปดาห์
- ช่วยปรับระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด         มีการศึกษาพบว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้ (Garfinkel, et al. 1992; Han et al. 2003) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวจะอิ่มนานขึ้น (หรือหิวช้าลง) จึงเปิดโอกาสให้น้ำตาลกระจายออกไปในกระแสเลือดอย่างช้าๆ เป็นการปรับระดับของน้ำตาลในเลือดได้โดยอัตโนมัติ อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มการสร้างอินซูลิน และการตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน มีรายงานว่า ผู้ป่วยที่เติมน้ำมันมะพร้าวลงไปในอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงทั้งที่บริโภคอาหารที่มีน้ำตาลเข้าไป
        ตามปกติ หลังจากรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจะมีน้ำตาลในเลือดมาก ปริมาณน้ำตาลที่สูงนี้ สร้างปัญหาต่อสุขภาพ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจึงต้องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ หากมีน้ำตาลในเลือดสูง จำต้องฉีดอินซูลินเพื่อลดน้ำตาล การบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะช่วยลดการนำน้ำตาลเข้าไปในกระแสเลือด จึงช่วยปรับระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ ผู้ป่วยบางคนสามารถควบคุมและลดปริมาณน้ำตาลในเลือดโดยการเติมน้ำมันมะพร้าว ในอาหาร (Fife 2006) การบริโภคน้ำมันมะพร้าว 2 – 3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ภายใน 30 นาที
        ในกรณีที่เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ เซลล์จะส่งสัญญาณว่ามันกำลังขาดอาหาร เมื่อได้รับสัญญาณนี้ ตับอ่อนจึงพยายามเพิ่มการผลิตและส่งอินซูลินให้มากขึ้น ทำให้มีระดับอินซูลินในเลือดมากขึ้น การที่มีทั้งอินซูลิน และน้ำตาลในกระแสเลือดมากขึ้น ทำให้เกิดอาการที่เคยเรียกว่า Syndrome X แต่ปัจจุบัน เรียกว่า Metabolic Syndrome และปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกมาก รวมทั้งความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แต่เมื่อน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในเซลล์ได้ สัญญาณที่ส่งไปที่ตับอ่อนจะปิดลง ทำให้อินซูลินกลับสู่สภาวะปกติ อันนำไปสู่การลดภาวะเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวาน และปัญหาการมีน้ำตาลในเลือดสูง
       Metabolic Syndrome เป็นกลุ่มอาการผิดปกติ ที่เพิ่มความเสี่ยงจากการที่เป็นโรคอ้วน และขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนการไม่ตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดน้ำตาลไปคั่งในกระแสเลือด จึงไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคเบาหวาน

- ช่วยใช้น้ำตาลอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยสร้างความทนทานต่อการมีน้ำตาลสูง        มีรายงานว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินและปรับปรุงการเกาะ ติด (binding affinity) ของอินซูลินกับเซลล์ดีกว่าน้ำมันอื่นๆ (Ginsberg, 1982 และ Yost and Eckel, 1989) จึงทำให้เซลล์ใช้ประโยชน์ของน้ำตาลอย่างมีประสิทธิภาพ (Garfinkel, et al. 1992) MCFAs ในน้ำมันมะพร้าวเป็นตัวการสำคัญในการทำหน้าที่ดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังพบอีกว่า น้ำมันมะพร้าวยังช่วยสร้างความทนทานต่อการมีน้ำตาลสูง (glucose tolerance)

- ช่วยลดค่า Glycemic Index ของอาหาร         อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส ทำให้เลือดมีระดับน้ำตาลสูงขึ้น อาหารบางอย่างสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าอาหารอื่นๆ ค่า Glycemic Index (GI) เป็นตัววัดผลของอาหารแต่ละอย่างต่อการเกิดน้ำตาลในเลือด ของหวานและอาหารพวกแป้ง เช่น ขนมปังและน้ำตาล มีค่า GI สูง จึงยกระดับน้ำตาลในเลือดได้สูง ผลไม้ที่หวานมากๆ เช่น กล้วย ลำไย ลิ้นจี่ ก็มีค่า GI สูงเช่นกัน ผู้ป่วยจำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีค่า GI สูงๆ ที่จะบริโภค แต่น้ำมันมะพร้าวไม่มีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือด และมีค่า GI ต่ำมาก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเติมน้ำมันมะพร้าวลงในอาหารประเภทลูกกวาดและอาหารแป้ง มันสามารถทำให้ค่า GI ของอาหารเหล่านั้นต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การเติมน้ำมันมะพร้าวลงในอาหารที่คุณรับประทาน จะช่วยให้ค่า GI ของอาหารจานโปรดของคุณต่ำลงได้ และช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดได้ดี ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวแก้ปัญหาได้โดยปรับการทำงานในระดับของเซลล์

ดเด่

ที่มา:หนังสือ "น้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคเบาหวานได้อย่างไร" โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 16 - 18

กินไขมันลดน้ำหนัก


กินไขมันลดน้ำหนัก

khjuk
eat fat looks thin       

   

          ประชากรโลกกำลังมีขนาดรอบเอวเพิ่มมากขึ้น จำนวนของคนที่มีน้ำหนักมากขึ้นเกินไปนั้นเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ความจริงแล้วจำนวนของคนที่มีน้ำหนักมากเกินไปเพิ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อไม่กี่ สิบปีมานี้เอง และเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วง 10 ปี มานี้ ตามการอ้างอิงของ CDC จำนวนของประชากรที่ประสบกับภาวะโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกาที่ทำการสำรวจเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา พบว่ามีสูงถึง 12% เมื่อพิจารณาจากประชากรทั้งหมดที่เป็นโรคอ้วน 17.9% ในสหรัฐอเมริกามีประชากรประมาณ 55% ที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นอัตราส่วน 1 ใน 4 ส่วนของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน ส่วนในวัยรุ่นพบว่ามีมากถึง 25% ที่มีน้ำหนักมากเกินหรือแม้แต่เด็กเล็กก็กลายเป็นมีน้ำหนักที่อ้วนเกิน มาตรฐาน จำนวนของเด็กที่มีน้ำหนักมากเกินมากกว่าที่เคยสำรวจเมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งเมื่อ 30 ปีที่แล้วมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เปอร์เซ็นต์ดังกล่าวจะเหมือนกันกับในสหราชอาณาจักร เยอรมนี และประเทศที่ร่ำรวยอื่นๆ

        คนที่จะพิจารณาว่าเป็นโรคอ้วนก็คือคนที่มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจากน้ำหนัก มาตรฐานประมาณมากกว่า 20% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ โรคอ้วนมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ประมาณ 70% สำหรับกลุ่มคนที่มีอายุประมาณ 18-29 ปี สำหรับคนที่มีอายุประมาณ 30-39 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้น 50% ส่วนกลุ่มช่วงอายุอื่นๆก็มีประสบการณ์การเพิ่มของน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆเช่น เดียวกัน

        ทางการแพทย์จะต้องทำสงครามกับภาวะโรคอ้วนอย่างหนัก เพราะว่าการที่มีน้ำหนักมากเกินไปนั้นจะมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคถุง น้ำดี โรคไขข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หากคุณมีน้ำหนักมากเกิน การลดน้ำหนักลงบ้างจะเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพของคุณที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

        หากคุณเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ ก็คือ คุณจะสังเกตการณ์เพิ่มของรอบเอวอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นเวลาหลายปี และพยายามสดการกินไขมันให้น้อยลง โดยการลดจำนวนอาหารลง ซึ่งมันทำให้หิวตลอดเวลา แต่หากได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ และน้ำมันมะพร้าวเป็นอย่างดี จะตระหนักได้ว่าการเปลี่ยนการกินน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการแปรรูปมาเป็น น้ำมันมะพร้าวแทน ใช้เนยแทนมาการีน กินของหวานน้อยลงและกินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารที่กินอีก แต่กลับเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยเฉพาะไขมันที่อยู่ในรูปของน้ำมันมะพร้าว

        บทนี้เป็นบทที่เหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนักส่วนเกินอย่างถาวรโดยปราศจาก การต่อสู้กับอาหารลดน้ำหนักทั้งหลาย แต่จะต้องเลือกกินอาหารอย่างชาญฉลาด อาหารที่กินเข้าไปสามารถมีรสชาติอร่อยและเป็นที่พึงพอใจกับตัวเองได้ และในขณะเดียวกันมันก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยให้ลดน้ำหนักได้อีก ด้วย

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน
ไส้เลื่อนบริเวณช่องท้อง
โรคเก๊าต์
ความดันโลหิตสูง
เส้นเลือดขอด
เบาหวาน
มะเร็ง
ไขข้ออักเสบ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ
การสะสมของไขมันบนผนังของหลอดเลือดแดง
ความผิดปกติเกี่ยวกับกระเพาอาหารและลำไส้
โรคเฉพาะของสตรี 

obesity girl

ดเด่


ที่มา: The Coconut Oil Miracle โดย  Bruce Fife, C.N., N.D. หน้า 83 - 86

บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อความอ้วน


บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อความอ้วน 

khjuk
ลดความอ้วน

การแบ่งประเภทและมาตรฐานของน้ำหนักผู้ใหญ่


แหล่งที่มา : ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารของกระทรวงสาธารณสุขไต้หวัน  (การควบคุมความอ้วนและน้ำหนัก) 
 
         ผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ ดังเช่นชาวเกาะทะเลใต้ ที่อยู่ในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก มีรูปร่างที่สมส่วน ไม่อ้วน แต่ก็ไม่ผอม ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าว ช่วยลดความอ้วนได้ดีกว่าน้ำมันอื่นๆ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

        ช่วยกระตุ้นเมตาบอลิสซึม : น้ำมันมะพร้าว มี MCT (medium-chain triglycerides) ซึ่งทำให้โมเลกุลของน้ำมันมะพร้าวมีขนาดเล็กกว่าโมเลกุลของน้ำมันอื่นๆ ซึ่งมี LCT (long-chain triglycerides) เพราะฉะนั้น มันจึงถูกย่อยได้เร็วมาก เร็วจนกระทั่งร่างกายของเรา ใช้มันเป็นแหล่งของพลังงานทันที มากกว่าที่จะนำไปสะสมเป็นอาหารสำรองในรูปของไขมันที่ไปสะสมตามส่วนต่างๆของ ร่างกาย MCT จะถูกใช้ไปเพื่อสร้างพลังงาน คล้ายกับคาร์โบไฮเดรต ดังนั้น มันจึงไม่เคลื่อนย้ายในกระแสเลือดคล้ายไขมันอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ น้ำมันมะพร้าวจึงไม่มีส่วนในการจัดหาไขมันให้แก่เซลล์ไขมัน หรือไปเพิ่มน้ำหนักตัวให้แก่ร่างกายของผู้บริโภค ปริมาณแคลอรีที่เราบริโภคเข้าไปในรูปของอาหารจึงถูกเผาผลาญในอัตราสูงขึ้น การกระตุ้นเมตาบอลิสซึมนี้ เกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 24 ชั่วโมงหลังการรับประทานอาหารที่มี MCT เป็นส่วนประกอบ ผลลัพธ์ก็คือ คุณได้พลังงานที่เพิ่มขึ้น และการเผาผลาญแคลอรีในอัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นเวลาหลายชั่วโมง

        ทำให้เกิดความร้อนสูง (thermogenesis) : การเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึมนี้ ยังนำไปสู่การเกิดความร้อนสูง นั่นคือมีการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย เมื่อคนที่เป็นโรคที่ทำให้มีระบบการทำงานของต่อมธัยรอยด์ต่ำ (hypothyroidism) บริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไป อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้นประมาณ 1 ถึง 2 องศาเซลเซียส และจะยังคงสูงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันมะพร้าวที่บริโภคเข้าไป ดังนั้น คนอ้วนเพราะต่อมธัยรอยด์ทำงานในระดับต่ำ จึงสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานดีขึ้น เพื่อช่วยลดน้ำหนักได้

        ช่วยชะลอความหิว : น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยลดปริมาณรวมของการบริโภคอาหารและแคลอรี คุณจะรับประทานอาหารได้น้อยลง และรู้สึกอิ่มนานขึ้น จึงไม่รับประทานมากขึ้นในมื้อถัดไป


ดเด่


ที่มา: หนังสือ "น้ำมันมะพร้าวลดความอ้วน" โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 15 - 18

น้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ

 

น้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ
khjuk
heart attack

สมมุติฐานน้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ           “น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิด เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ” เป็นบทสรุปสำหรับอาหารที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ คำพูดดังกล่าว จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทั้ง 4 ประการ ดังนี้
1. น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิด มีคลอเรสเตอรอลสูง
2. เมื่อบริโภคน้ำมันอิ่มตัวแล้ว มีคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือดสูง
3. คลอเรสเตอรอลที่สูงในกระแสเลือดนั้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
4. ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง นำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ

        ประจักษ์พยานและผลการศึกษาในเรื่องเหล่านี้ สรุปได้ว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันใน 3 ประเด็นแรก ดังที่จะได้อธิบายดังต่อไปนี้

น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิด มีคลอเรสเตอรอลสูง
       การกล่าวหาว่าน้ำมันอิ่มตัว อันได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ และน้ำมันเขตร้อน (tropical oils) อาทิเช่น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์มเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เพราะน้ำมันดังกล่าว เป็นสาเหตุให้มีคลอเรสเตอรอลใน กระแสเลือดสูง ทำให้น้ำมันมะพร้าว ถูกกล่าวหาว่ามีคลอเรสเตอรอลสูงไปด้วย แต่ผลจากการวิเคราะห์ ปรากฎว่าน้ำมันมะพร้าวมีคลอเรสเตอรอลต่ำที่สุดในบรรดาน้ำมันที่ใช้บริโภค ทั้งหลาย กล่าวคือ มีเพียง 14 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งถือว่าน้อยมากจนกล่าวได้ว่าน้ำมันมะพร้าวไม่มีคลอเรสเตอรอล
       การกล่าวหาอย่างรวมๆว่า น้ำมันอิ่มตัวทุกชนิดมีคลอเลสเตอรอลสูงนั้นไม่เป็นความจริง เพราะน้ำมันอิ่มตัวนั้น มีทั้งที่โมเลกุลขนาดยาว (C 14-24) อันได้แก่ น้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันเนื้อ ซึ่งมีคลอเรสเตอรอลสูงกว่า 3,000 ส่วนในล้านส่วน และที่มีโมเลกุลขนาดปานกลาง (C 6-12) อันได้แก่ น้ำมันจากพืชยืนต้นเขตร้อน เช่น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม แม้ว่าน้ำมันจากสัตว์ จะมีคลอเรสเตอรอลสูง แต่น้ำมันจากพืชยืนต้นเขตร้อนไม่มีคลอเรสเตอรอล

เมื่อบริโภคน้ำมันอิ่มตัวแล้ว มีคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือดสูง
       คำกล่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง เช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของนักวิจัยชาวนิวซีแลนด์ ชื่อ Prior (1981) ซึ่งได้ศึกษาประชากรในเกาะมหาสมุทรแปซิฟิก 2 เกาะ คือเกาะ Pukapuka และ Tokelau ซึ่งเป็นเกาะที่ห่างไกลความเจริญ และบริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลัก โดยรับประทานในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปของอาหารหลักและของว่าง โดยชาว Pukapaka ได้รับไขมันเป็นพลังงานในอัตรา 30-40% ของความต้องการแคลอรีประจำวัน มีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด 170 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย และ176 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง ส่วนชาวเกาะ Tokelau ซึ่งบริโภคไขมันเป็นพลังงานในอัตราสูงถึง 56% ของความต้องการแคลอรีประจำวัน ก็มีระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด 208 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย และ216 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง จะเห็นได้ว่า ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดของประชาการในเกาะทั้งสองไม่ได้สูงไปกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยของระดับคอเรสเตอรรอลในคนปรกติแต่อย่างใด
       นอกจากนั้น ยังไม่มีงานวิจัยใดๆ ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงหลักฐานที่ว่า น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ได้ถูกเติมไฮโดรเจน ไปเพิ่มระดับคอเรสเตอรอลในกระแสเลือด เหตุผลที่น้ำมันมะพร้าว ไม่ได้มีผลร้ายต่อคลอเรสเตอรอล ก็คือ น้ำมันมะพร้าวประกอบไปด้วยกรดไขมันขนาดกลาง (MCFA) ซึ่งต่างจากกรดไขมันที่พบในอาหารอื่นๆ โดยเฉพาะที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมัน MCFA (Medium Chain Fatty Acid) จะถูกเผาผลาญเกือบทันที เพื่อสร้างพลังงานสำหรับใช้ในการดำรงชีวิต โดยไม่ส่งผลต่อการเพิ่มระดับคลอเรสเตอรอลแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วน้ำมันมะพร้าวยังช่วยลดการเพิ่มขึ้นของคอเรสเตอรอลที่เกิดจาก การบริโภคไขมันสัตว์อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากผลงานวิจัยที่ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ให้นักเรียนแพทย์ 10 คน รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ และน้ำมันมะพร้าวในระดับต่างๆกัน สำหรับไขมันจากสัตว์นั้น เป็นที่รู้กันว่าจะเพิ่มคลอเรสเตอรอล การทดลองนี้ ให้อาหารคิดเป็นแคลอรีทั้งหมดที่ได้มาจากไขมันในอาหาร ตั้งแต่ 20, 30 และ 40% โดยการผสมที่ต่างกันของน้ำมันมะพร้าวและไขมันสัตว์ ในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 ผลปรากฏว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในระดับคลอเรสเตอรอล จะมีก็แต่ตอนที่อัตราส่วนนั้นถูกกลับให้บริโภคไขมันสัตว์มากกว่าน้ำมัน มะพร้าว และให้แคลอรีคงอยู่ที่ 40% จึงจะพบว่าระดับคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น

คลอเรสเตอรอลที่สูงในกระแสเลือดนั้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
       แม้ว่าในกระแสเลือดจะมีคลอเรสเต อรอลสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งแต่ อย่างใด ที่จริงร่างกายของคนเรา ใช้คลอเรสเตอรอลไปในการซ่อมแซม และรักษาบาดแผลที่ผนังหลอดเลือด และตรงกันข้ามกับที่หลายคนเชื่อ ส่วนประกอบหลักที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงนั้นไม่ใช่คลอเรสเตอร อล แต่เป็นโปรตีนต่างหาก โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเนื้อเยื่อของแผล หลอดเลือดแดงที่แข็งตัวนั้นมีคลอดเรสเตอรอลอยู่น้อยมาก การที่หลอดเลือดแดงแข็งตัวนั้น เบื้องต้นเกิดจากผลของการเกิดบาดแผลในหลอดเลือด ซึ่งเกิดมาจากาเหตุหลายประการ เช่น สารพิษ อนุมูลอิสระ เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ถ้าต้นเหตุของอาการไม่ได้ถูกแก้ไข และตราบใดที่ยังมีการระคายเคือง และการอักเสบของบาดแผลยังคงอยู่ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายที่ใหญ่โตขึ้น และจะพัฒนาเป็นแผ่นหนาขึ้น



เกณฑ์ในการพิจารณา

1. สัดส่วนของ คลอเรสเตอรอลรวม / HDL ควรมีค่าน้อยกว่า 4.6

2. สัดส่วนของ LDL/HDL ควรมีค่าน้อยกว่า 3

ท่านใดที่มีคลอเรสเตอรอลรวมเยอะ อาจจะรู้สึกตกใจ แต่ถ้าในบรรดาคลอเรสเตอรอลที่เพิ่มขึ้นเป็น HDL แสดงว่าท่านมีสุขภาพที่ดีขึ้นแน่นอน


        ปรกติ เลือดของเรามีองค์ประกอบอย่างหนึ่ง เรียกว่าเกล็ดเลือด (platelet) ที่ทำหน้าที่สมานแผลหากเกิดบาดแผลขึ้น ดังเช่น เมื่อเราถูกมีดบาด เกล็ดเลือดจะไปรวมตัวกันที่ผิวบาดแผล และเมื่อรวมตัวกับองค์ประกอบอื่นๆ ในเลือดจะเกิดเป็นลิ่มเลือด ซึ่งรวมตัวกันเป็นก้อน ทำให้เลือดหยุดไหล

pic_heart_attack
      
หากผนังหลอดเลือดเกิดบาดแผล เกล็ดเลือดจะมาเกาะเพื่อกระตุ้นการสร้างลิ่มเลือด และต่อมาจะกระตุ้นการเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อหลายชนิด เช่นเซลล์พังผืด (fibroblast) ภายในผนังหลอดเลือด การผสมกันอย่างสลับซับซ้อนของเยื่อที่เกิดแผล เกล็ดเลือด เซลล์พังผืด แคลเซียม คลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ จะรวมเข้าด้วยกันในการรักษาบาดแผล จึงเกิดการพองตัวของผนังหลอดเลือด แคลเซียมที่ฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดที่พองตัวขึ้นนี้เอง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว

ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง นำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ
       ตรงกันข้ามกับความเชื่อทั่วไป แผ่นเลือดที่พองตัวขึ้นนั้น ไม่ได้แค่ติดอยู่ตามหลอดเลือดเหมือนกับตะกรันในท่อน้ำ แต่มันเติบโตภายในหลอดเลือด และกลายเป็นส่วนเดียวกันกับผนังหลอดเลือด ซึ่งล้อมไปด้วยชั้นของเนื้อเยื่อยืดหยุ่น (elastic tissue) และกล้ามเนื้อเรียบ ที่เป็นวงแข็งแรงที่ป้องกันผนังหลอดเลือดไม่ให้แผ่ขยายออกไปด้านนอก เมื่อผนังหลอดเลือดโตขึ้น และไม่สามารถขยายออกไปด้านนอกได้ง่าย มันก็จะดันเข้าไปข้างใน จนกระทั่งทำให้หลอดเลือดตีบและตันในที่สุด เมื่อขบวนการนี้ เกิดในเส้นเลือดเข้าสู่หัวใจ หัวใจก็จะขาดเลือดและเกิดภาวะหัวใจวาย แต่ถ้ามันเกิดขึ้นในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองก็จะทำให้เกิดการอุดตันของ เส้นเลือดเข้าสู่สมอง ทำให้เป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์


ดเด่

ที่มา:หนังสือ "น้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร" โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 4 - 8

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว

มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว 

khjuk
      ต้นมะพร้าว    

คุณสมบัติน้ำมันมะพร้าว
          น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใดๆเจือปน โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมักจะมีเจือปนอยู่ในน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวในสภาพที่สกัดได้ตามธรรมชาติทันที โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่นๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายของสารเคมี น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติที่ดีเด่นที่ไม่มีในน้ำมันพืชอื่นใดในโลก ดังต่อไปนี้

เป็นกรดไขมันอิ่มตัว
        น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว ประมาณ 92% ธาตุคาร์บอน (C) จับกันด้วยพันธะ (bond) เดี่ยว ไม่เปิดโอกาสให้ไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2) แทรก ดังนั้น น้ำมันมะพร้าว “อิ่มตัว” ส่วนที่เหลือ (8%) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ที่ C บางตัว จับกันด้วยพันธะคู่ เปิดโอกาสให้ H2 และ O2 แทรกจึง “ไม่อิ่มตัว” ดูสูตรโครงสร้างของน้ำมัน ได้ดังภาพ
โครงสร้างน้ำมันมะพร้าว
สูตรโครงสร้างของน้ำมันอิ่มตัว (บน) เปรียบเทียบกับน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (กลาง) และน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (ล่าง) 

        การเติมออกซิเจน (Oxidation) เป็นการะบวนการที่เกิดขึ้นตลอกเวลา ก่อให้เกิดความเสื่อมของโมเลกุล กล่าวคือ เกอดอนุมูลอิสระขึ้นมาจากผลของการเติมออกซิเจน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า “อนุมูลอิสระ” เป็นตัวการของการเกิดโรคแห่งความเสื่อมมากมาย

        การเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) เกิดจากการนำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปถูกกับอุณหภูมิสูง เช่น ในการทอดอาหารในน้ำมันท่วม จึงเกิดเป็นสารตัวใหม่ชื่อว่า “ไขมันทรานส์ (Trans fats)” ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนรูปร่างไป และเกิดผลเสียต่อเซลล์ เช่น ทำให้เยื่อบุเซลล์บุบสลาย ทำให้เชื้อโรคหรือสารพิษเข้าไปในเซลล์ได้ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลง DNA ของเซลล์ นอกจากนั้น ยังเกิดจากการนำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วนในทางอุตสาหกรรม โดยต้องใช้ความดันและสารแคตาลิสต์เข้าช่วย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนเป็นน้ำมันอิ่มตัว เพื่อจะได้ไม่เกิดการหืน (เพราะถูกเติมออกซิเจน) และทำให้น้ำมันอยู่ในรูปที่แข็งตัว ทำให้จับต้องผลิตภัณฑ์อาหารได้สะดวกไม่เหนียวเหนอะหนะ


เป็นกรดไขมันขนาดกลาง
        น้ำมันมะพร้าวมีองค์ประกอบส่วยใหญ่ (62.5%) เป็นกรดไขมันขนาดกลาง (Medium-Chain Fatty Acids – MCFAs) ร่างกายตอบสนองไขมันขนาดต่างๆแตกต่างกัน ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในด้านการแพทย์และโชนาการ การเป็นกรดไขมันขนาดกลางมีข้อได้เปรียบ คือ

       เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็วน้ำมัน มะพร้าวถูกดูดซึมและเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วเมื่อบริโภคเข้าไป จะผ่านกระเพาะไปยังลำไส้ เข้าไปในกระแสเลือด แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่เกอดเป็นไขมันสะสมในร่างกาย

       เพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึม น้ำมันมะพร้าวช่วยเร่งอัตราเมตาบอลิสซึม (Metabolism) จากการเพิ่มประสิทธิภาพของต่อมธัยรอยด์ ผลของความร้อนที่เกิดขึ้น (Thermogenic Effect) เกิดขึ้นเป็นเวลานาน (กว่า 24 ชม.) จึงได้พลังงานมากขึ้นและมีอัตราเผาผลาญที่เร็วขึ้น นอกจากตัวมันเองจะถูกเผาผลาญในอัตราที่เร็วแล้ว ยังช่วยเผาผลาญอาหารที่รับประทานเข้าไปพร้อมกัน ทำให้ไม่ไปสะสมเป็นไขมัน อีกทั้งยังไปเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้แต่เดิม ทำให้ร่างกายผอมลง


มีสารฆ่าเชื้อโรค
       น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก (Lauric Acid; C=12) อยู่สูง (48-53%) เมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ ชื่อโมโนลอรินที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค Enig (1999) ได้รายงานว่าน้ำมันมะพร้าวสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา ยีสต์ โปรโตซัว และแม้กระทั่งเชื้อไวรัส ผลงานวิจัยของ Dayrit (2000) พบว่า กรดลอริกและโมโนลอรินสามารถช่วยลดปริมาณของเชื้อไวรัส (HIV) ในคนไข้โรคเอดส์ได้ อย่างไรก็ตาม โมโนลอรินก็ไม่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด จะฆ่าได้ก็เฉพาะเชื้อโรคที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่เป็นไขมัน เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ โรคเริม คางทูม โรคซาร์ และโรคเอดส์ การที่โมโนลอรินไม่ฆ่าจุลินทรีย์ทุกชนิดก็เป็นข้อดี เพราะแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในกระเพาะจะไม่ถูกทำลาย
       นอกจากกรดลอริกแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดไขมันขนาดกลางอีก 2 ตัว คือ กรดคาปริก (Capric Acid; C-10, 7%) และกรดคาปริลลิก (Capryllic Acid; C-8, 8%) ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้เช่นกัน และต่างก็ช่วยเสริมกรดลอริกในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคแก่ร่างกาย หรือฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้เมื่อปรากฏตัวขึ้น


มีสารแอนตีออกซิแดนต์
       น้ำมันมะพร้าวมีสารแอนตีออกซิแดนต์ (Antioxidant) หลายประเภททีมีประสิทธิภาพสูงและในปริมาณมาก สารเหล่านี้ทำหน้าที่ต่อต้านการเติมออกซิเจน (Oxidation) ที่เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพ เพราะสูญเสียอิเล็คตรอนในวงแหวนรอบนอก กลายเป็น “โมเลกุลเกเร” เที่ยวไปโจมตีโมเลกุลอื่นๆ โดยไปดึงอีเล็คตรอนจากโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียงตัวหนึ่ง และโมเลกุลนี้ก็ไปดึงอิเล็คตรอนจากโมเลกุลข้างเคียงอื่นๆต่อไป เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำให้เซลล์ผิดปกติ เช่น เยื่อบุเซลล์ฉีกขาด ผิวหนังเหี่ยวย่น เปลี่ยนสารพันธุกรรมในนิวเคลียส ทำให้เกิดการกลายพันธุ์อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม ของร่างกายไม่ต่ำกว่า 60 โรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน ภูมิแพ้ และชราภาพ
       อนุมูลอิสระเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม และในอาหาร เครื่องดื่ม การสูบบุหรี่ ความเครียด ฯลฯ และโดยเฉพาะในน้ำมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะถูกเติมออกซิเจน (Oxidized) ได้โดยง่ายเพราะมีพันธะคู่ (Double Bond) ในโมเลกุลตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างทางก่อนถูกนำไปบริโภค จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่าย อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ไปลดสารแอนตีออกซิแดนต์ที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีทีทำให้เกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ


ดเด่


ที่มา: หนังสือ "มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว" โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา หน้า 6 - 10