น้ำมันมะพร้าวกับโรคเบาหวาน
เซลล์
ทุกเซลล์ในร่างกายของเรา ต้องการน้ำตาลตลอดเวลา
เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการเมตาบอลิสซึม
เพื่อสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต และซ่อมแซมส่วนสึกหรอ
หากไม่ได้น้ำตาลอย่างเพียงพอเซลล์จะตาย และส่งผลให้เกิดโรคต่างๆได้
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันชนิดเดียวในโลกที่สามารถแก้ปัญหาของโรคเบาหวานได้
โดยทำหน้าที่ต่อไปนี้
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ แม้ว่ากระแสเลือดจะมีน้ำตาลมาก แต่หากขาดอินซูลิน เซลล์ก็ไม่ได้น้ำตาล
น้ำตาลกลูโคส (Glucose) (ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ร่างกายใช้หล่อเลี้ยงเซลล์) และกรดไขมันขนาดยาว (Long-chain fatty acids – LCFAs, C18 – 24) มีปัญหาเหมือนกันอยู่อันหนึ่ง นั่นคือไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ได้ด้วยตนเอง เพราะมีโมเลกุลขนาดใหญ่ จำต้องมีอินซูลินเป็นตัวพาเข้า แต่น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันขนาดกลาง (Medium-chain fatty acids – MCFAs, C 6-12) ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก จึงเข้าไปในเซลล์ได้โดยไม่ต้องมีอินซูลินเป็นตัวพาเข้า อีกทั้งน้ำมันมะพร้าวยังสามารถใช้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ ส่งผลให้เซลล์มีอาหารโดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ดังนั้นไม่ว่าร่างกายจะสร้างอินซูลินได้ไม่พอหรือเซลล์ไม่ตอบสนองต่อ อินซูลินก็ไม่เป็นปัญหา
เมื่อเข้าไปในเซลล์ได้แล้ว MCFAs จะรวมตัวกับคารนิทีน (carnitine) ในเซลล์เพื่อนำกรดไขมันผ่านเยื่อบุสองชั้นของไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเตาเผาเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดพลังงาน ดังนั้นเซลล์จึงมีอาหารอย่างเพียงพอเพียง ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆมีสุขภาพดี และเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ช่วยให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงเสื่อม สรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยให้ระบบไหลเวียนและสุขภาพของหัวใจของผู้ป่วยเบา หวานดีขึ้น
ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่มีอยู่แต่เดิม น้ำมันมะพร้าวไม่ใช่ตัวการไปทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบตัน แท้ที่จริงแล้วมันช่วยเปิดหลอดเลือดให้กว้างขึ้นด้วยเสียซ้ำ นอกจากนั้นการที่เซลล์ไม่ได้รับอาหาร ทำให้ระบบประสาทถูกทำลาย (neuropathy) ไม่มีความรู้สึก จนแขนขาชา แต่เซลล์สามารถใช่น้ำมันมะพร้าวเป็นอาหารได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการแขนขาชา จะหลับมามีความรู้สึกอีกครั้งได้หลังจากบริโภคน้ำมันมะพร้าวเพียงไม่กี่ สัปดาห์ ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นยาวิเศษชนิดเดียวที่แก้โรคระบบประสาทถูกทำลาย ได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
ผลอันหนึ่งของการเป็นโรคเบาหวานคือการขาดพลังงาน ทั้งนี้เพราะเซลล์ไม่ได้รับน้ำตาลอย่างพอเพียง เมื่อปราศจากน้ำตาลที่จะให้พลังงานแก่กิจกรรมของเซลล์ เมตาบอลิสซึมก็ช้าลง เป็นผลให้ร่างกายเหนื่อยอ่อน เซื่องซึม แต่น้ำมันมะพร้าวช่วยให้เซลล์ได้รับพลังงานอย่างพอเพียง จึงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานกลับมามีพลังขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรใช้ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการคีโตซีส (ketosis)
น้ำตาลกลูโคส (Glucose) (ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ร่างกายใช้หล่อเลี้ยงเซลล์) และกรดไขมันขนาดยาว (Long-chain fatty acids – LCFAs, C18 – 24) มีปัญหาเหมือนกันอยู่อันหนึ่ง นั่นคือไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ได้ด้วยตนเอง เพราะมีโมเลกุลขนาดใหญ่ จำต้องมีอินซูลินเป็นตัวพาเข้า แต่น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันขนาดกลาง (Medium-chain fatty acids – MCFAs, C 6-12) ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก จึงเข้าไปในเซลล์ได้โดยไม่ต้องมีอินซูลินเป็นตัวพาเข้า อีกทั้งน้ำมันมะพร้าวยังสามารถใช้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ ส่งผลให้เซลล์มีอาหารโดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ดังนั้นไม่ว่าร่างกายจะสร้างอินซูลินได้ไม่พอหรือเซลล์ไม่ตอบสนองต่อ อินซูลินก็ไม่เป็นปัญหา
เมื่อเข้าไปในเซลล์ได้แล้ว MCFAs จะรวมตัวกับคารนิทีน (carnitine) ในเซลล์เพื่อนำกรดไขมันผ่านเยื่อบุสองชั้นของไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเตาเผาเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดพลังงาน ดังนั้นเซลล์จึงมีอาหารอย่างเพียงพอเพียง ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆมีสุขภาพดี และเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ช่วยให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงเสื่อม สรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยให้ระบบไหลเวียนและสุขภาพของหัวใจของผู้ป่วยเบา หวานดีขึ้น
ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่มีอยู่แต่เดิม น้ำมันมะพร้าวไม่ใช่ตัวการไปทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและตีบตัน แท้ที่จริงแล้วมันช่วยเปิดหลอดเลือดให้กว้างขึ้นด้วยเสียซ้ำ นอกจากนั้นการที่เซลล์ไม่ได้รับอาหาร ทำให้ระบบประสาทถูกทำลาย (neuropathy) ไม่มีความรู้สึก จนแขนขาชา แต่เซลล์สามารถใช่น้ำมันมะพร้าวเป็นอาหารได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการแขนขาชา จะหลับมามีความรู้สึกอีกครั้งได้หลังจากบริโภคน้ำมันมะพร้าวเพียงไม่กี่ สัปดาห์ ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นยาวิเศษชนิดเดียวที่แก้โรคระบบประสาทถูกทำลาย ได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
ผลอันหนึ่งของการเป็นโรคเบาหวานคือการขาดพลังงาน ทั้งนี้เพราะเซลล์ไม่ได้รับน้ำตาลอย่างพอเพียง เมื่อปราศจากน้ำตาลที่จะให้พลังงานแก่กิจกรรมของเซลล์ เมตาบอลิสซึมก็ช้าลง เป็นผลให้ร่างกายเหนื่อยอ่อน เซื่องซึม แต่น้ำมันมะพร้าวช่วยให้เซลล์ได้รับพลังงานอย่างพอเพียง จึงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานกลับมามีพลังขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรใช้ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการคีโตซีส (ketosis)
นอกจากจะทำให้เซลล์ได้รับอาหารอย่างเพียงพอแล้ว
น้ำมันมะพร้าวยังแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของตับอ่อนในการสร้างอินซูลิน
ทำให้ร่ากายมีอินซูลินอย่างเพียงพอสำหรับเบาหวานชนิดที่ 1
และเซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ทำให้ไม่ต้องใช้อินซูลินมากกว่าปกติ
(สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2) ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวทำหน้าที่ต่อไปนี้
- ช่วยให้ตับอ่อน กลับมาสร้างอินซูลินได้อีกครั้ง เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวสามารถทดแทนอาหารของเซลล์ได้โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ทำให้ความต้องการเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตอินซูลินในตับอ่อนลดลง จึงช่วยลดความเครียดให้แก่ตับอ่อนในขณะรับประทานอาหาร ซึ่งมีการผลิตอินซูลินอย่างเต็มที่ ทำให้ตับอ่อนเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และกลับมาสร้างอินซูลินได้ดังเดิม
กรดลอริก (lauric acid, C – 12, 48-53%) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าว มีฤทธิ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของตับอ่อนในการสร้างอินซูลิน นอกจากนั้นกรดไขมันขนาดกลางชนิดอื่นๆ ได้แก่กรดคาโปรอิก (capric acid, C – 10.7%) กรดคาปริลิก (caprylicacid, C – 8.8%) และกรดคาโปรอิก (caproic acid, C – 6.05%) ในน้ำมันมะพร้าวต่างก็ช่วยกันเร่งกระบวนการเมตาบอลิสซึม ส่งผลให้เพิ่มการสร้างอินซูลิน และการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ (Fife 2005)
- เพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน น้ำมันมะพร้าวจะช่วยอาการนี้ได้ โดยการทำให้เซลล์เปิด”ประตู” ให้รับน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ได้มากขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นที่ตับอ่อนจะต้องสร้างอินซูลินมากเกินความจำเป็น
สรุปก็คือ น้ำมันมะพร้าวช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวาน กลับมาสร้างอินซูลิน และปรับเปลี่ยนให้เซลล์ตอบสนองอินซูลิน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงแก้โรคเบาหวานทั้งสองชนิดได้ ผู้ป่วยที่มือเท้าสูญเสียความรู้สึก กลับมามีความรู้สึกได้เมื่อเติมน้ำมันมะพร้าวในอาหารเพียงไม่กี่สัปดาห์
- ช่วยปรับระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด มีการศึกษาพบว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้ (Garfinkel, et al. 1992; Han et al. 2003) ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวจะอิ่มนานขึ้น (หรือหิวช้าลง) จึงเปิดโอกาสให้น้ำตาลกระจายออกไปในกระแสเลือดอย่างช้าๆ เป็นการปรับระดับของน้ำตาลในเลือดได้โดยอัตโนมัติ อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มการสร้างอินซูลิน และการตอบสนองของเซลล์ต่ออินซูลิน มีรายงานว่า ผู้ป่วยที่เติมน้ำมันมะพร้าวลงไปในอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงทั้งที่บริโภคอาหารที่มีน้ำตาลเข้าไป
ตามปกติ หลังจากรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจะมีน้ำตาลในเลือดมาก ปริมาณน้ำตาลที่สูงนี้ สร้างปัญหาต่อสุขภาพ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจึงต้องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ หากมีน้ำตาลในเลือดสูง จำต้องฉีดอินซูลินเพื่อลดน้ำตาล การบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะช่วยลดการนำน้ำตาลเข้าไปในกระแสเลือด จึงช่วยปรับระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ ผู้ป่วยบางคนสามารถควบคุมและลดปริมาณน้ำตาลในเลือดโดยการเติมน้ำมันมะพร้าว ในอาหาร (Fife 2006) การบริโภคน้ำมันมะพร้าว 2 – 3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ภายใน 30 นาที
ในกรณีที่เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ เซลล์จะส่งสัญญาณว่ามันกำลังขาดอาหาร เมื่อได้รับสัญญาณนี้ ตับอ่อนจึงพยายามเพิ่มการผลิตและส่งอินซูลินให้มากขึ้น ทำให้มีระดับอินซูลินในเลือดมากขึ้น การที่มีทั้งอินซูลิน และน้ำตาลในกระแสเลือดมากขึ้น ทำให้เกิดอาการที่เคยเรียกว่า Syndrome X แต่ปัจจุบัน เรียกว่า Metabolic Syndrome และปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกมาก รวมทั้งความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แต่เมื่อน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในเซลล์ได้ สัญญาณที่ส่งไปที่ตับอ่อนจะปิดลง ทำให้อินซูลินกลับสู่สภาวะปกติ อันนำไปสู่การลดภาวะเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวาน และปัญหาการมีน้ำตาลในเลือดสูง
Metabolic Syndrome เป็นกลุ่มอาการผิดปกติ ที่เพิ่มความเสี่ยงจากการที่เป็นโรคอ้วน และขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนการไม่ตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดน้ำตาลไปคั่งในกระแสเลือด จึงไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคเบาหวาน
- ช่วยใช้น้ำตาลอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยสร้างความทนทานต่อการมีน้ำตาลสูง มีรายงานว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินและปรับปรุงการเกาะ ติด (binding affinity) ของอินซูลินกับเซลล์ดีกว่าน้ำมันอื่นๆ (Ginsberg, 1982 และ Yost and Eckel, 1989) จึงทำให้เซลล์ใช้ประโยชน์ของน้ำตาลอย่างมีประสิทธิภาพ (Garfinkel, et al. 1992) MCFAs ในน้ำมันมะพร้าวเป็นตัวการสำคัญในการทำหน้าที่ดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังพบอีกว่า น้ำมันมะพร้าวยังช่วยสร้างความทนทานต่อการมีน้ำตาลสูง (glucose tolerance)
- ช่วยลดค่า Glycemic Index ของอาหาร อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส ทำให้เลือดมีระดับน้ำตาลสูงขึ้น อาหารบางอย่างสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าอาหารอื่นๆ ค่า Glycemic Index (GI) เป็นตัววัดผลของอาหารแต่ละอย่างต่อการเกิดน้ำตาลในเลือด ของหวานและอาหารพวกแป้ง เช่น ขนมปังและน้ำตาล มีค่า GI สูง จึงยกระดับน้ำตาลในเลือดได้สูง ผลไม้ที่หวานมากๆ เช่น กล้วย ลำไย ลิ้นจี่ ก็มีค่า GI สูงเช่นกัน ผู้ป่วยจำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีค่า GI สูงๆ ที่จะบริโภค แต่น้ำมันมะพร้าวไม่มีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือด และมีค่า GI ต่ำมาก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเติมน้ำมันมะพร้าวลงในอาหารประเภทลูกกวาดและอาหารแป้ง มันสามารถทำให้ค่า GI ของอาหารเหล่านั้นต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น การเติมน้ำมันมะพร้าวลงในอาหารที่คุณรับประทาน จะช่วยให้ค่า GI ของอาหารจานโปรดของคุณต่ำลงได้ และช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดได้ดี ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวแก้ปัญหาได้โดยปรับการทำงานในระดับของเซลล์
บทความดีมากครับขอฝากโรคอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
ตอบลบภัยร้ายจากโรคไต